สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,การอพยพ,แรงงาน,ผลกระทบ,น่าน
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title การอพยพแรงงานของชาวเขาเผ่าขมุ : สถานการณ์และผลกระทบต่อชุมชน
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 20 Year 2539
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

จากงานศึกษาชาวขมุบ้านน้ำสอดใต้ พบว่าปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการอพยพมีดังนี้ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการไม่สามารถผลิตไม้แปรรูปได้อีกต่อไป ทำให้การเกษตรแบบยังชีพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ แม้ว่าจะเคยมีความพยายามในการทำการเกษตรแบบการตลาดแต่ก็ต้องล้มเลิกไป เพราะการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง จนทำให้เกิดการอพยพแรงงานสูงถึง 41 ครอบครัวจาก 45 ครอบครัวทีเดียว 2. ปัจจัยภาวะตลาดแรงงาน การอพยพแรงงานนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความต้องการแรงงานในประเทศ ซึ่งผู้วิจัยได้แสดงถึงว่าภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศในขณะนั้นเป็นปัจจัยส่งเสริมการอพยพแรงงาน 3. ปัจจัยทางด้านการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าในจำนวนแรงงาน 58 คน นั้นมีจำนวนถึง 43 คนที่จบชั้นประถม 6 และวิเคราะห์ว่าการที่ได้รับการศึกษา สร้างให้ชาวขมุมีทักษะในการพูดเขียนอ่านภาษาไทย ทำให้เกิดความพร้อมในการ อพยพ นอกจากนี้งานวิจัยยังแสดงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการอพยพแรงงานทั้งในด้านสังคม และวัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน ซึ่งได้แก่ ก่อให้เกิดการปรับตัวของชุมชน กล่าวคือมีการพัฒนาการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์แบบถาวรมากขึ้น กว่าแต่เดิมที่เป็นการเกษตรแบบยังชีพ รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งได้แก่คำแนะนำให้รัฐมีนโยบายชัดเจนเรื่องสิทธิในที่ดินของชาวเขา การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนของชาวเขา การจัดการศึกษาที่เหมาะสม และการบริหารจัดการด้านการอพยพแรงงานให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

Focus

มุ่งศึกษาลักษณะ ปัจจัย และสาเหตุ ในการประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร หรือการอพยพแรงงานของชาวเขาเผ่าขมุ และผลกระทบที่เกิดต่อเศรษฐกิจและสังคมของชาวเขาเผ่าขมุ

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้สรุปจากเอกสารทางการศึกษาว่า การอพยพแรงงานในระดับมหภาคของชาวชนบทนั้น มีสาเหตุมาจากภาวะการขาดแคลนที่ดิน การสูญเสียที่ดิน และปัญหากระบวนการผลิตในภาคการเกษตร ประกอบกับการมีความต้องการแรงงานในภาคบริการและอุตสาหกรรมทั้งในและประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กิดการอพยพแรงงาน(หน้า 3)

Ethnic Group in the Focus

ชาวขมุในหมู่บ้านน้ำสอดใต้มีถิ่นฐานที่มาในประเทศลาว และเดินทางเข้ามายังจังหวัด แพร่ และน่าน เพื่อมารับจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ของชาวอังกฤษซึ่งเป็นผลจากสนธิสัญญาบาวริ่ง ระหว่าง พ.ศ. 2393 -2439 (หน้า 6)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่าง เดือน มกราคม 2537 - กันยายน 2538

History of the Group and Community

ผู้วิจัยระบุว่าไม่อาจระบุได้ว่าหมู่บ้านน้ำสอดใต้ได้ถูกตั้งขึ้นในยุคสมัยใด แต่อาจ สันนิษฐานได้ว่าชาวขมุที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่เดินทางมาจากประเทศลาว เพื่อมารับจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ของชาวอังกฤษซึ่งเป็นผลจากสนธิสัญญาบาวริ่ง ระหว่าง พ.ศ.2393 -2439 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในเขตสัมปทานป่าไม้ในจังหวัดแพร่ และน่าน ชาวอังกฤษได้จ้างชาวขมุมาเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ดังกล่าว ดังนั้นการก่อตั้งหมู่บ้านนี้จึงน่าจะมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 100 ปีแล้ว (หน้า 6)

Settlement Pattern

ลักษณะหมู่บ้านน้ำสอดใต้มีสองหย่อม หย่อมแรกเป็นที่ตั้งดั้งเดิมของหมู่บ้านมีลักษณะการตั้งบ้านเรือนแบบกระจุกอยู่ระหว่างหุบเขา มีถนนผ่านกลางหมู่บ้าน หย่อมที่สองตั้งอยู่เรียงรายไปตามสองข้างทางถนนที่เข้าหมู่บ้านห่างกันประมาณ 200 เมตร (หน้า 4)

Demography

หมู่บ้านน้ำสอดใต้ประกอบด้วยครัวเรือน 38 ครัวเรือน 45 ครอบครัว ประชากร 169 คน ประกอบด้วยเพศชาย 86 คน หรือร้อยละ 50.89 เพศหญิง 83 คน หรือร้อยละ 49.11 เป็นประชากรวัยแรงงาน 132 คนหรือร้อยละ 78.11 วัยเด็ก 30 คนหรือร้อยละ 17.75 และวัยชรา 7 คน หรือร้อยละ 4.14 มีขนาดครอบครัวเฉลี่ย 3.75 คน ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 4.45 คน (หน้า 5)

Economy

ในสมัยก่อนที่จะมีการอพยพแรงงาน ผู้วิจัย กล่าวว่า ลักษณะทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านน้ำสอดใต้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ (6) ซึ่งประกอบไปด้วย การเกษตรแบบยังชีพ และอาชีพนอกการเกษตรควบคู่กันไป ในกรณีของบ้านน้ำสอดใต้ คือ การผลิตไม้แปรรูปซึ่งได้สืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ จากการเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ของอังกฤษและหลังจากสิ้นสุดสัมปทานดังกล่าวในปี 2439 ชาวขมุจึงได้ใช้การแปรรูปไม้ในการหารายได้ต่อเนื่องมายาวนาน และต่อมาเกิด พ.ร.บ. ป่าไม้ปี 2532 มีผลให้ยกเลิกการสัมปทานป่าไม้ พ.ร.บ. ป่าไม้ 2482 หรือตามที่ชาวบ้านเรียกว่ากฎหมายปิดป่า(หน้า 8) จึงทำให้เกิดการอพยพออกไปหางานทำนอกหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ขมุถือว่าพิธีปีใหม่ที่มีการประกอบพิธีในเดือนเมษายนของทุกปี เป็นพิธีที่มีความสำคัญที่สุด สมาชิกทุกคนถูกคาดหวังให้เข้าร่วมพิธีปีใหม่ ดังนั้นชาวขมุที่ออกไปประกอบอาชีพนอกหมู่บ้านจะกลับมาร่วมพิธีปีใหม่ในเดือนเมษายน นอกจากนี้ ชาวขมุยังมีพิธีกรรมย่อยๆ อีกหลายพิธี เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีมัดขวัญ พิธีเซ่นไหว้ผีเรือน พิธีไหว้ครู และพิธีส่งเคราะห์ (หน้า 8)

Education and Socialization

ผู้วิจัยพบว่า ชาวขมุส่วนใหญ่เห็นว่าการอพยพแรงงานก่อให้เกิดความเหินห่างครอบครัว และให้เกิดการวิตกห่วงใยสมาชิก จึงได้มีการปรับตัวเพื่อทำให้การอพยพแรงงานมีน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น การทำนาดำ กล่าวคือ หลังจากปี 2533 ได้มีการพัฒนาการปลูกข้าวนาดำขึ้นจนปัจจุบันครอบครัวที่มีนาข้าวนาดำนั้นมีอยู่ถึง 35 ครอบครัว ซึ่งให้ผลผลิตพอเพียงต่อการบริโภคลดการอพยพแรงงาน นอกจากนี้ ก็มีการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบันมีการเลี้ยงวัวอยู่ถึง 350 ตัว ซึ่งเป็นความพยายามที่จะพัฒนาการเกษตรที่แต่เดิมเป็นแบบยังชีพให้เป็นแบบถาวรมากขึ้นเพื่อดึงคนไม่ให้อพยพได้มากขึ้น (หน้า 15-16 )

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

แรงงานที่อพยพออกไปส่วนมากเป็นแรงงานชายที่อยู่ในวัยช่วงต้นของวัยแรงงาน ส่วนใหญ่นิยม ขายแรงงาน ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้างภาคเกษตร โรงงาน จังหวัดที่ออกไปมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ เพชรบูรณ์ และฉะเชิงเทรา

Social Cultural and Identity Change

ผู้วิจัย พบว่าผลกระทบจากการอพยพแรงงานที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมในหลายๆ ประเด็นดังนี้ 1.ทำให้โครงสร้างประชากรในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป คือ ประชากรวัยแรงงานอยู่ชุมชนน้อยลง อัตราส่วนระหว่างวัยพึ่งพิงกับวัยทำงานเพิ่มขึ้น 2. เกิดปัญหาเด็กและคนชราขาดผู้ดูแล 3. การเพิ่มของประชากรมีแนวโน้มลดลงหลังเกิดการอพยพแรงงานวัยแรงงานอยู่ในชุมชนน้อยจึงทำให้การแต่งงานเกิดขึ้นได้ยากส่งผลให้อัตราการเกิดลดลง 4. สตรีรับภาระมากขึ้นต้องรับภาระในครอบครัวช่วงที่ผู้ชายไม่อยู่ 5. มีการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง 6. เกิดปัญหาการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวอยู่ในชุมชนน้อยลงทำให้ขาดการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการประกอบพิธีกรรมในชุมชน และมีความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมน้อยลง 7. เสียโอกาสทางการพัฒนา ทำให้ชุมชนขาดสื่อกลางที่จะนำความรู้ใหม่ๆเข้ามาพัฒนาชุมชน 8. ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการบริโภคเข้าสู่ชุมชนอย่างรวดเร็วมากขึ้น (หน้า 18-19)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะจากงานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 1. การอพยพแรงงานของชาวขมุมีสาเหตุจากปัญหาทางเศรษฐกิจ อันมีผลมาจากการใช้นโยบายของรัฐด้านทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นรัฐจึงควรมีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน และสิทธิในการใช้ทรัพยากรของชาวเขา 2. การที่ชุมชนจะคงอยู่ได้ต้องมีการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน จึงสามารถป้องกันการอพยพของแรงงานได้ 3. การศึกษาจะสามารถทำให้เยาวชนมีประสบการณ์ และได้ทักษะวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชนมากขึ้น ทำให้เยาวชนยังคงอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของตนเองได้ 4. การอพยพแรงงานเป็นปรากฏการทางสังคมที่เกิดจากการพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงควรมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับอพยพแรงงาน ให้ไปในทางที่พึงประสงค์

Map/Illustration

ผู้วิจัย แสดงตารางข้อมูลทางสถิติดังนี้ ลักษณะทางประชากรชาวขมุหมู่บ้านสอดน้ำใต้(1) ลักษณะของประชากรผู้อพยพแรงงานชาวขมุหมู่บ้านสอดน้ำใต้ (หน้า 9-13)

Text Analyst ธิติพันธุ์ มกร์ดารา Date of Report 09 เม.ย 2556
TAG ขมุ, การอพยพ, แรงงาน, ผลกระทบ, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง