สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  แนวนโยบายด้านชาติพันธุ์

แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553
โพสเมื่อวันที่ 19 เม.ย 2556 13:06 น. 



แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553


คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
 
              1. เห็นชอบหลักการแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
 
              2. ให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับข้อเสนอตามแนวนโยบายฯ ไปพิจารณาและร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
 
              3. ให้หน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับแนวนโยบายการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะการส่งเสริมและยอมรับระบบการทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยง เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ในการรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่จำกัดให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและพิจารณาประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชาติพันธุ์และระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากประเด็นดังกล่าวด้วย  และความเห็นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ เกี่ยวกับการจัดงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพื่อการจัดระบบบริการด้านสุขภาพควรให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้ผ่านการจัดทำประวัติและได้รับสิทธิในการอาศัยในประเทศไทยแล้วได้รับสิทธิการรับบริการสาธารณสุขเช่นเดียวกับกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ  ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
 
1.1 มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายใน 6 - 12 เดือน
 
    ประเด็น1. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม
      
    1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนชาวกะเหรี่ยงในเรื่องอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ (Ethnic identity) และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาติที่มีความหลากหลาย
     หน่วยงานรับผิดชอบ  กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ  ความมั่นคงของมนุษย์
 
       
 
    1.2 ส่งเสริมสังคมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
      หน่วยงานรับผิดชอบ  กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 
 
    ประเด็น 2. ด้านการจัดการทรัพยากร
       
 
    2.1 ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม
    หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
 
       
 
    2.2 จัดตั้งคณะกรรมการ หรือกลไกการทำงานเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ในการทำกิน การอยู่อาศัย และการดำเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรม (Demarcation Committee/Mechanism)
เพื่อจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์หรือการถือครองพื้นที่ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับหน่วยงานรัฐซึ่งมี องค์ประกอบนอกเหนือจากองค์ประกอบของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิถีวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนนักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยกำหนดอำนาจหน้าที่มุ่งเน้นการส่งเสริมแนวทางการจัดการความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Dialogue)
    หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   กระทรวงมหาดไทย
    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
    กระทรวงยุติธรรม
 
       
 
    2.3 ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่สูง เช่น การรักษาความหลากหลายของการสร้างพันธุ์พืช การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความสมดุลของนิเวศผ่านกระบวนการระบบไร่หมุนเวียน
       
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
 
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
   
ประเด็นที่ 3. สิทธิในสัญชาติ
       
 
    3.1 มีมติคณะรัฐมนตรีให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูงและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้าตั้งแต่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นอยู่ถาวรในประเทศไทย และได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศไทยให้สามารถขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิได้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายประมาณ 40,000 คน
     หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงมหาดไทย   สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
       
 
    3.2 เร่งรัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาการขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยและได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวรวมทั้งบุตรที่เกิดในประเทศไทยขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิ ที่ได้ยื่นเรื่องขอเป็นเวลานานแล้ว
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
 
   ประเด็นที่  4. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
       4.1 ส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมชุมชน โดยเชื่อมโยงและ สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับฐานคิดดั้งเดิม ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมที่มีชีวิต
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ    สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด/  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยศูนย์บูรณาการไทยสายใยชุมชน/    เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
 
       
 
    4.2 สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม ชุมชน และการทำกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
 
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 
 
 
    ประเด็นที่ 5. การศึกษา
        5.1 ให้ชุมชนมีส่วนในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการจัดการศึกษาโดย ท้องถิ่น เช่น งบประมาณ
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงศึกษาธิการ
 
       
 
    5.2 พัฒนาศักยภาพผู้บริหารการศึกษา ครู คนในท้องถิ่น เช่น กรรมการโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกฝนอบรมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง และปรับระบบการบริหารของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ
 
       
 
    5.3 สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่จำเป็นในการพัฒนาชุมชน เช่น ด้าน สาธารณสุข
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงสาธารณสุข
 
 
 
 
 
1.2 มาตรการฟื้นฟูระยะยาว ดำเนินการภายใน 1 - 3 ปี
     ประเด็นที่ 1. การจัดการทรัพยากร
       
 
    1.1 เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่าสงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าได้อยู่อาศัย ดำเนินชีวิตและใช้ประโยชน์ในที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
       
 
    1.2 ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถี วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและวิถีชีวิตพอเพียง รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่ หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม
 
       
      1.3 ส่งเสริมเกษตรพอเพียงหรือเกษตรทางเลือกที่ไม่ใช่เกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเชิงอุตสาหกรรม
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
       
 
    1.4 ส่งเสริมสนับสนุนและยอมรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และการจัดการของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การออกโฉนดชุมชน
      หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
   
ประเด็นที่ 2. สิทธิสัญชาติ
       
    จัดสรรงบประมาณรายหัวตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้จัดทำประวัติและมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ(สปสช.)
 
 
ประเด็นที่   3. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
       
 
    กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโดยมีพื้นที่นำร่อง เช่น
 
            บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
 
            ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
 
            บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
 
            บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
 
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงมหาดไทย
 
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม
 
 
   ประเด็นที่  4. การศึกษา
     
    4.1 ปรับระบบการสอบบุคลากรครู โดยการส่งเสริมให้ทุนแก่กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มกะเหรี่ยงใหม่มากขึ้น เพื่อให้สามารถกลับไปทำงานยังชุมชนของตนเอง หากเป็นครูกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจะต้องสามารถพูดภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ นั้น ๆ ได้ หรือพร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น
        หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงศึกษาธิการ
 
       
 
    4.2 รัฐจะต้องผ่อนปรนเงื่อนไขกำหนดคุณวุฒิด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการการสอนและถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และภาษาของท้องถิ่นนั้น โดยเฉพาะครูที่สอนในระดับเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษา
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม
 
       
 
    4.3 ส่งเสริมนโยบาย "พหุภาษา" เพื่อให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในภาษาพูดและภาษาเขียนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม
 
       
 
    4.4 ปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน เช่น ปรับเป็นโรงเรียนสาขาโดยไม่ยุบโรงเรียน ไม่ว่าชุมชนแห่งนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาท้องถิ่นผ่านการร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน นักวิชาการ องค์กรอิสระ เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม
       หน่วยงานที่รับผิดชอบ  กระทรวงศึกษาธิการ
 
 



  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง