สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Blog

วิถีอันอุดม: ไร่หมุนเวียนกับชาวกะเหรี่ยง
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 20 เม.ย 2560 16:16 น.
 



วิถีอันอุดม: ไร่หมุนเวียนกับชาวกะเหรี่ยง




ที่มาของภาพ  https://www.facebook.com/rotationalfarming/  
เว็บเพจไร่หมุนเวียน Rotational Farming ของเครือข่ายชาวกะเหรี่ยง


 

     ภาพแรกที่แวบขึ้นมาเมื่อพูดคำว่า “ชาวกะเหรี่ยง” หลายคนมักนึกถึงภาพกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีภาษามีการแต่งกาย มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบของตนเอง บางคนเห็นภาพคนอาศัยใกล้ชิดกับป่า อย่างไรก็ตาม ภาพหนึ่งที่อยู่ในความคิดของหลายคนในสังคมนั้นก็คือ กะเหรี่ยงในฐานะผู้ทำลายป่าเพื่อทำไร่ทำนา ดังนั้น ชาวกะเหรี่ยง จึงถูกจับไปโยงกับคำว่า “ไร่เลื่อนลอย” อยู่เสมอ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ชาวกะเหรี่ยงนั้นมีการทำการเกษตรแบบยังชีพในรูปแบบ “ไร่หมุนเวียน” ซึ่งรูปแบบการเกษตรนั้นต่างกันกับไร่เลื่อนลอยมากนัก
     
     ในขณะที่การทำไร่เลื่อนลอยเป็นการบุกเบิกป่าเพื่อทำไร่ จะมีการถางป่าและย้ายไร่ใหม่ไปตามพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ได้มีกระบวนการใดในการฟื้นฟูดินหรือพื้นที่ตรงนั้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิมที่พร้อมเพาะปลูก แต่ไร่หมุนเวียนนั้นต่างออกไป ไร่หมุนเวียนมีหลักการสำคัญ*คือ การปลูกพืชโดยวิธีการหมุนเวียนจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อพื้นที่เดิมได้มีการพักฟื้น และกลับมาทำไร่หมุนเวียนยังพื้นที่เดิมอีกครั้งเมื่อแร่ธาตุในดินคืนความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องตามวิถีนิเวศป่าที่ต้องการเวลาในการพักฟื้นแตกต่างออกไปตามประเภทของป่า การทำไร่หมุนเวียนนั้นตั้งอยู่บนฐานคิดของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องกลมกลืนและสมดุลกัน ถือเป็นภูมิปัญญาในการจัดกาทรัพยากรธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยงที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมายาวนาน
      

     กระบวนการทำไร่หมุนเวียนเริ่มจากการเลือกพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักประเพณีการเลือกพื้นที่ทำไร่ หลังจากนั้นจะมีการถางไร่ ซึ่งจะเป็นการตัดต้นไม้ออกไปบางส่วน หากเป็นไม้ใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงจะใช้วิธีริดกิ่งออก ส่วนไม้อื่นจะตัดให้สูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร เพื่อให้แตกยอดเป็นป่าได้ในปีต่อไป เหลือที่ไว้ให้นกเกาะและพืชจำพวกเลื้อยได้เติบโตเพื่อให้มีพืชผักชนิดอื่นๆ ในการบริโภค หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเผาในเดือนเมษายน โดยมีแนวกันไฟและระบบช่วยกัน    


ดูแลไม่ให้ไฟลามนอกอาณาเขต เมื่อเข้าหน้าฝนจะเริ่มการปลูกพืชในไร่โดยมีการปลูกข้าวและพืชหลากหลายชนิดผสมกันไป การทำไร่หมุนเวียนไม่มีการใช้สารเคมี ใช้เพียงระบบธรรมชาติในการจัดการพืชพันธุ์ และแรงงานในการลงแขกเท่านั้น ดังนั้น อาหารจากไร่หมุนเวียนจึงเป็นอาหารที่สะอาด ปราศจากสารพิษ

     วงจรของไร่หมุนเวียนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7 ปี ยาวได้ถึง 12 ปีตามความพร้อมของสภาพพื้นที่ การทำไร่หมุนเวียนนั้นจะทำหลังจากพื้นที่ที่มีการพักดิน หรือที่เรียกว่า ไร่เหล่ามีการฟื้นตัวแล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 ปี แต่ละปีมีชื่อเรียก ดังนี้ 1)ไร่เหล่ากินข้าว เป็นพื้นที่ที่มีการพักดินปีแรกหลังจากการทำไร่หมุนเวียน 2)ไร่เหล่าขาว 3)ไร่เหล่าอ่อน 4)ไร่แหล่าไม้แตกกิ่ง 5)ไร่เหล่าไม้ออกลูก และ 6)ไร่เหล่าแก่ ที่พร้อมจะเป็นพื้นที่ในการทำไร่หมุนในปีถัดไป

               
               ตัวอย่างพันธุ์พืชที่อยู่ในไร่หมุนเวียน เว็บเพจไร่หมุนเวียน 

               Rotational Farming โดยเครือข่ายชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง      

 

     การพักดินเป็นไร่เหล่าจะสามารถทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ ได้เติบโตขึ้นมาทดแทนพืชพันธุ์ที่ถูกเก็บเกี่ยวออกไป ซึ่งพืชพันธุ์ที่ขึ้นมาทดแทนนี้ยิ่งปล่อยเวลาไว้นาน ก็ยิ่งมีความหลายหลายทางพันธุ์พืชสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจอ้างอิงจามข้อมูลของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือและเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ พบว่าในไร่เหล่ามีต้นไม้ 242 ชนิด ลูกไม้ 345 ชนิด ตัวอย่างพืชที่เป็นอาหาร เช่น เผือก มัน มะเขือ และพืชที่สามารถนำมาใช้สอย เช่น หญ้าคา ไผ่บง ดอกก๋ง ไม้เปา เป็นต้น นอกจากนี้ ไร่เหล่ายังเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบภัยของสัตว์ เช่น หมูป่า อีเห็น เก้ง ลิ่น เต่า ไก่ป่า นก หนู เป็นต้น ดังนั้น การพักดินในระบบไร่หมุนเวียนจึงถือเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมในท้องถิ่นไปในตัว ระบบไร่หมุนเวียนยังเป็นความมั่นคงทางอาหารของคนในพื้นที่ เนื่องจากพืชพรรณที่หลาหลายในไร่ออกผลตลอดปีและมีปริมาณมากพอสำหรับการบริโภคได้ทั้งปี

 



เว็บเพจไร่หมุนเวียน Rotational Farming ของเครือข่ายชาวกะเหรี่ยง ได้แนะนำพืชชนิดนี้ไว้ ดังนี้

“ซะลื่อซาหรือตะไคร้ต้นนั้นเป็นเครื่องเทศชนิดเดียวที่อยู่ในไร่หมุนเวียนเท่านั้น
หรือจะบอกว่าที่เดียวในโลกเลยก็ว่าได้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในความหอมและรสชาติซ่าในปาก
ตอนทานมักจะนำไปทำแกงกับหน่อไม้ซึ่งได้มีบทธาที่กล่าวว่า ซะลื่อซาเดาะบ่อหวิเกลอ ลอพง่าเตอเหงฮอหน่อเออ”
หรือ “แกงซะลื่อซากับหน่อไม้ช่างอร่อยเหลือเกิน เปรียบเหมือนอย่าได้พรากกันเลยน้องเอ๋ย”
ซึ่งได้เปรียบซะลื่อซาและหน่อไม้ไว้ว่าเป็นของคู่กันและยังมีรสชาติที่เปรียบเหมือน
รสชาติความรักของหนุ่มสาวที่ไม่จืดจางได้เลย”

 

 

     ความเชื่อหรือแนวคิดของชาวกะเหรี่ยงเกี่ยวกับการเคารพธรรมชาติหรือการเบียดเบียนพืชและสัตว์เพียงแต่เท่าที่จำเป็นนั้นสะท้อนออกมาผ่านพิธีกรรมต่างๆ ในระหว่างระยะเวลาที่มีการทำไร่หมุนเวียน เช่น พิธีเลี้ยงผีไร่ผีนา ซึ่งมีขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ชาวกะเหรี่ยงจะทำพิธีเลี้ยงผีไร่ผีนาเพื่อขอพร และขอขมาลาโทษธรรมชาติที่ได้ใช้และล่วงเกิน อย่างเช่น การเผาไร่ ที่ทำให้เกิดความรุ่มร้อน และขอให้กลับมาสงบเย็นดังเดิม และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากไร่นา หรืออย่างเช่นประเพณีการเลี้ยงผีน้ำ เป็นการสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ได้ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก โดยผู้เลี้ยงจะบอกกับผีน้ำว่า “ผีน้ำเอย เราใช้ประโยชน์จากท่าน ต้องขอขอบคุณ ขอให้ช่วยดูแลน้ำให้พอกินพอใช้ด้วย หากมีสิ่งใดล่วงเกินก็ขอโทษ”

     อีกตัวอย่างคือ ประเพณีในไร่ของชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ที่ก่อนที่จะเริ่มปลูกข้าวทั้งแปลงต้องมีการปลูกแม่ข้าวทั้งเจ็ดก่อน โดยมีการกันที่กั้นไม้ไว้กลางไร่ ผู้ชายขุดหลุม ผู้หญิงหยอดเมล็ด โดยชายหญิงที่จะร่วมกันปลูกแม่ข้าวนี้จะต้องเป็นผู้ที่พ่อแม่ยังอยู่ครบ และข้าวทั้งเจ็ดกอที่เกิดขึ้นมา คือ “แม่ข้าว” ซึ่งหลังจากที่มีการเอามื้อเอาแรงผลูกข้าวทั้งไร่เสร็จแล้ว ก็จะนำมงาโบ อันที่ใช้ปลูกแม่ข้าวซึ่งถือเป็นมงาโบศักดิ์สิทธิ์มาปักไว้ในแปลงแม่ข้าว ปลายมงาโบชี้ไปที่ทิศดาวช้าง ตามความเชื่อว่าช้างเป็นขวัญข้าว

     ความเชื่อเหล่านี้ อยู่ในนิทานปกาเกอะญอที่เล่าสืบกันมาคือเรื่อง เจ้ากำพร้ากับนกฟ้าเจ้าข้าว  ซึ่งบอกเล่าวิธีการทำข้าวของชาวปกาเกอะญอ รวมถึงที่มาที่ไปของประเพณีการส่งนกข้าวขึ้นสวรรค์ ซึ่งตามประเพณีความเชื่อ หลังจากการเผาไร่เสร็จ ชาวปกาเกอะญอจะเชิญโถบีข่าหรือเทวดาเจ้าข้าว ลงมาช่วยให้การทำไร่เป็นไปด้วยดี และเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวหรือตีข้าว ชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอมีการลงแขกช่วยกันในชุมชน หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จ แต่ละครอบครัวจะทำพิธีการขอบคุณและอัญเชิญขวัญข้าว(โถบีข่า)กลับสู่ฟากฟ้าหลังจากได้ช่วยดูแลไร่นามาตลอดทั้งปี ชาวปกาเกอะญอเชื่อว่าพวกเขาเป็นเชื้อสายของเจ้ากำพร้าจึงต้องทำพิธีกรรมส่งนกขึ้นสวรรค์เหมือนกับเจ้ากำพร้า นิทานเรื่องนี้สะท้อนแนวคิดเรื่องจริยธรรม การทำความดี และหลักคิดในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของชาวปกาเกอะญอได้เป็นอย่างดี และนอกจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติแล้ว ประเพณีพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ในไร่หมุนเวียนยังเป็นสิ่งที่ยึดโยงผู้คนระหว่างวัยและระหว่างเพศของคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ผ่านการปฏิสัมพันธ์กันในไร่อีกด้วย





ที่มาของภาพ  https://www.facebook.com/rotationalfarming/  
เว็บเพจไร่หมุนเวียน Rotational Farming ของเครือข่ายชาวกะเหรี่ยง



     ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงผูกพันลึกซึ้งกับไร่หมุนเวียนก่อรูปกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาวกะเหรี่ยง ดังคำกล่าวในหนังสือเรื่องป่าเจ็ดชั้น:ปัญญาปราชญ์ ในท้ายเล่มว่า“ไร่หมุนเวียนคือชีวิตและวัฒนธรรม” อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกดดันในเรื่องพื้นที่ทำกิน ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงเรื่องการตั้งบ้านเรือนอย่างถาวร  การห้ามเข้าไปฟันไม้ทำไร่ในป่า ทำให้ในปัจจุบัน พื้นที่ทำไร่หมุนเวียนลดลงเรื่อยๆ และส่งผลให้วิถีไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงในหลายพื้นที่นั้นมีความแตกต่างออกไปจากอดีต เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น  บางพื้นที่มีการลดรอบหมุนเวียน เหลือ 5-8 ปี ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตลดลงเพราะดินไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนไร่หมุนเวียนที่มีรอบ 8-10 ปี แต่ก็ยังพอได้ผลผลิตตลอดปี หรือมีการปรับลดพิธีกรรมที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ บางพื้นที่มีการเสริมการจัดการพันธุ์พืชด้วยแนวทางการเกษตรรูปแบบแบบอื่นๆ เช่น การจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก  บางพื้นที่คนในชุมชนจำต้องลดการทำไร่หมุนเวียนและหันไปพึ่งอาชีพรับจ้างมากขึ้น หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ขายในตลาดชุมชน
     
     อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงในวิถีการทำไร่หมุนเวียนจะเป็นไปเช่นใด ชาวกะเหรี่ยงยังคงมีหลักยึดถือบางประการ ที่หากผิดไปจากนี้ จะไม่ถือว่าเป็นการทำไร่หมุนเวียนอีกต่อไป นั่นก็คือ ลักษณะพื้นฐานของไร่หมุนเวียน 3 ประการประการแรก ได้แก่ การใช้ระบบหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติ ไม่เร่งผลิตจนทำลายระบบนิเวศ ด้วยการทำการผลิตระยะสั้นและปล่อยเวลาให้พื้นที่ได้พักฟื้นยาวจนความอุดมสมบูรณ์ในผืนดินกลับคืนมา แล้วจึงค่อยวนกลับมาทำการเกษตรในพื้นที่นั้นใหม่  ประการต่อมาคือ อุดมการณ์การผลิตเพื่อยังชีพ ชาวกะเหรี่ยงจะผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและชุมชนเป็นหลัก การขายผลผลิตเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น  ประการสุดท้ายคือ การสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าจะมีการลดทอนวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับไร่หมุนเวียนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับบริบทภายในและภายนอกชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็สาระสำคัญทางวัฒนธรรมในไร่หมุนเวียนนั้นควรจะยังคงอยู่  
     
     ในระหว่างที่ผู้เขียนลงพื้นที่ การได้ฟังนิทานของชาวกะเหรี่ยงเกี่ยวกับคน สัตว์และพืชในไร่หมุนเวียนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทำให้ตื่นเต้นได้พอๆ กับการได้เห็นความหลากหลายของพันธุ์พืชในไร่และได้ฟังสรรพคุณของมัน ที่เป็นทั้งอาหาร ยา และสิ่งใช้สอย คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากภูมิปัญญาในการอยู่กับธรรมชาติเหล่านี้จะสูญหายไปพร้อมกับวิถีการทำไร่หมุนเวียน ผู้เขียนยังหวังว่าองค์กรทางวิชาการจะมีการเข้ามาร่วมศึกษาสิ่งเหล่านี้ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงมากขึ้น และปัญหาที่พี่น้องชาวกะเหรี่ยงกำลังเผชิญ จะมาพร้อมกับความตระหนักรู้ และการร่วมใจกันศึกษา ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับวิถีชีวิตการอยู่กินและภูมิปัญญาของพี่น้องกะเหรี่ยงเอง เพื่อดึงเอาจุดแข็งและอัตลักษณ์ของตนเองมาเป็นหลักยึดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีอยู่มีกินอย่างยั่งยืนต่อไป
 

เอกสารอ้างอิง
  • กรรณิการ์ พรมเสาร์, เบญจา ศิลารักษ์. ป่าเจ็ดชั้น : ปัญญาปราชญ์จากคำบอกเล่าของพ่อหลวงจอนิ โอโดเชา.กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา, 2542
  • เอกสารการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงของกระทรวงวัฒนธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 สิงหาคม 2553”
  • มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เครือข่ายกลุ่มเกษตรภาคเหนือ. ไร่หมุนเวียน: ความท้าทายและความหมายของมรดกโลกทางวัฒนธรรม, 2558

อ้างอิงภาพประกอบ
  • ภาพประกอบ https://www.facebook.com/rotationalfarming/   เว็บเพจไร่หมุนเวียน Rotational Farming ของเครือข่ายชาวกะเหรี่ยง

 



ผู้เขียน : ยาไพร สาธุธรรม
คำสำคัญ : ไร่หมุนเวียน, กะเหรี่ยง, ความเชื่อ, ชาติพันธุ์,

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง