สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Blog

“ผี” ป้องภัยและให้โทษ : วัฒนธรรมแห่งจารีตของชาติพันธุ์ลีซู
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 17 มิ.ย 2557 15:32 น.
 



ผี” ป้องภัยและให้โทษ : วัฒนธรรมแห่งจารีตของชาติพันธุ์ลีซู
 

ความเชื่อเรื่องผีกับความตาย ทำให้ผู้คนในหลายวัฒนธรรมหวาดกลัวเมื่อต้องพูดถึงผี แต่ในขณะเดียวกันในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ก็พบว่า“ผี” ได้กลายเป็นวัฒนธรรมแห่งจารีต ดังเช่น ผีในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่มีความเชื่อว่าทำหน้าที่ป้องภัยและให้โทษ

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพลงมาจากเขตเหนือของหุบเขาสาละวิน มณฑลยูนนาน และตอนเหนือของรัฐ คะฉิ่นของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้ามาตามแนวภูเขาพรมแดนพม่าจีน และกระจายออกไปถึงแม่น้ำโขง เขตรัฐฉาน ไทยใหญ่ ภาคเหนือของลาว และไทย ชาวลีซู เรียกตนเองว่า “ลีซู” ชาวจีนเรียก “ลีโซ” หรือ “ลีซือ” ชาวไทย ใหญ่เรียก “แข่ลีซู” แข่ แปลว่า ชาวจีนกลาง ส่วนชาวไทยเรียก “ลีซู”

ปัจจุบันพบชาวลีซูใน10 จังหวัด คือ ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน และพะเยา

ชาวลีซูเชื่อว่าโลกเต็มไปด้วยผีร้ายและผีดี ได้แก่ ผีผู้สร้างโลก เป็นผู้สร้างระบบนิเวศทั้งหมดและลิขิตชะตาชีวิตแก่มนุษย์ เป็นผีทรงอำนาจสูงสุด และอยู่ห่างไกลจากโลกและมนุษย์มากที่สุด จึงไม่มีการเซ่นไหว้หรือบวงสรวงโดยตรง

ผีเมือง เป็นผีฝ่ายดีคอยปกปักษ์อันตรายให้ชาวลีซู มีศาลอยู่บนเนินเขานอกหมู่บ้าน การเลี้ยงผีหมู่บ้านนี้ มีประจำทุกปี โดยจัดพร้อมกับผีหลวงในเทศกาลปีใหม่

ผีเจ้าที่ เป็นเจ้าของพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ รวมไปถึงสิ่งที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ได้แก่ ที่ดิน ของป่า ต้นไม้ สัตว์ป่า และก้อนหิน ฯลฯ ก่อนที่จะมีการลงมือทำไร่ และก่อนที่จะมีการเก็บเกี่ยว ต้องมีพิธีกรรมเซ่นไหว้ ขออนุญาตก่อนทุกครั้ง หากไม่ขออนุญาต อาจเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับอันตราย
         
ผีน้ำทำหน้าที่ควบคุมการใช้น้ำของชาวบ้าน การทำพิธีเซ่นไหว้ผีน้ำเป็นประจำเพื่อขออนุญาตใช้หรือขอขมาที่ได้ล่วงเกินจากการใช้น้ำ
         
ผีอารักษ์มีการแบ่งแยกขอบเขตของอำนาจตามขนาดพื้นที่ ตามระยะห่างของการมีสัมพันธ์กับคนเริ่มต้นจากเจียลาวสื่อผ่า เป็นเจ้าของป่าทั้งหมดในเขตจังหวัดเชียงใหม่ คำว่า “เจียลาว” ก็คือเชียงดาว ส่วนอาณาเขตแถบจังหวัดเชียงราย ผีเจ้าป่าอยู่ที่ดอยช้าง ส่วนในเขตพม่าอยู่ที่เมืองเชียงตุง ในยามปกติไม่จำเป็นต้องเซ่นไหว้ เว้นแต่จะเกิดโรคระบาดร้ายแรงหรือผลผลิตเสียหายมาก จึงจะมีการทำพิธีและเซ่นไหว้

ผีดอยเป็นเจ้าของพื้นที่ป่าของหมู่บ้าน มีอำนาจดูแลและควบคุมการใช้พื้นที่ป่าทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน และคุ้มครองชาวบ้าน การบุกเบิกป่าต้องขออนุญาตจากผีดอยก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตราย การนับถือผีเจ้าที่ ผีน้ำ ผีอารักษ์ และผีดอย ของลีซู ถือเป็นการเชื่อมโยงคติความเชื่อกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างแยบคาย

ผีปู่ตาทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน ดูแลสัตว์เลี้ยง และคอยสอดส่องให้ชาวบ้านปฏิบัติจารีตประเพณี

ผีประจำถิ่นทำหน้าที่คุ้มครองชาวบ้านจากภัยอันตรายและความโชคร้ายจากผีร้ายหรือวิญญาณเร่ร่อนต่างๆ ชาวบ้านจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีประจำถิ่นทุกปีใหม่ นอกจากจะเซ่นด้วยอาหารและสุราแล้ว ชาวบ้านจะใช้ไม้หรือกระดาษมาตัดแต่งให้มีรูปร่างคล้ายโซ่ และแกะสลักไม้ให้มีรูปร่างคล้ายปืน มีด หรือดาบไว้เป็นอาวุธจับหรือขับไล่ผีร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน
         
ผีผู้ทรงศีลได้รับการอัญเชิญไว้ที่หิ้งบูชาในบ้าน โดยวางอยู่ในตำแหน่งซ้ายมือสุดของหิ้งบูชา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจที่สุด เพื่อให้ช่วยเหลือขจัดเคราะห์ร้าย
         
ผีบรรพบุรุษทำหน้าที่ดูแล ปกป้องคุ้มครองและคอยช่วยเหลือเมื่อถูกร้องขอจากกับลูกหลาน ผีบรรพบุรุษจะถูกเชิญมาสิงสถิตย์ที่หิ้งบูชาผี เพื่อให้ลูกหลานได้บวงสรวง มี2 กลุ่ม คือ หนี่ฉึ หรือผีประจำตระกูล เป็นวิญญาณบรรพชน ที่ห่างไกลหลายชั่วรุ่น และอาปาอ๊าหญ่า หรือผีปู่ย่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่นับขึ้นไปประมาณ 3-4 ชั่วรุ่น ทำหน้าที่ดูแลลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งจะได้รับการเซ่นไหว้ เพื่อเพิ่มอำนาจเป็นประจำ
         
ผีร้าย เป็นวิญญาณเร่ร่อนของผู้ตายที่ตายแบบผิดธรรมชาติ เช่น เมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ไม่มีลูกเมีย ชอบลักขโมย ถูกฆ่าตาย เมื่อตายก็กลายเป็นผีเร่ร่อน ผีร้ายเหล่านี้จะได้กินเครื่องเซ่นได้เฉพาะในช่วงที่มีพิธีกรรม ดังนั้นจึงขโมยกินเครื่องเซ่นที่ชาวบ้านเตรียมไว้ให้ผีบรรพบุรุษหรือผีอารักษ์ ซึ่งจะนำโชคร้ายและเจ็บป่วยมาสู่ชาวบ้านได้
         
เมื่อชาวลีซูจะกระทำการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ ล่าสัตว์ ใช้ลำธาร หรือสืบสานประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ล้วนต้องขออนุญาตหรือเซ่นไหว้ผีทั้งสิ้น หากทำผิดผีหรือล่วงละเมิดข้อห้ามต่างๆ ก็ต้องทำพิธีเพื่อขอขมาผีด้วย โดยจะมีผู้นำศาสนา หรือหมอผี เป็นผู้ประกอบพิธีต่างๆ
         
ผีในวัฒนธรรมของชาวลีซูจึงเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่คนลีซูเชื่อว่าจะทำหน้าที่ปกปักษ์คุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข และในทางกลับกัน หากละเมิดในจารีตธรรมเนียมปฏิบัติ ก็จะเกิดทุกข์ร้อนโรคภัย
         
แม้ว่ายุคสมัยและสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว แต่วัฒนธรรมการนับถือผีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูก็ยังเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เกาะเกี่ยวอยู่กับ“ความเป็นลีซู” มาโดยตลอด
         
“ผี” จึงเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่กำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวบ้านให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบจารีตของสังคม พร้อมทั้งเป็นกุศโลบายในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ การมีส่วนร่วมในการสร้างและแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชนให้ชัดเจน
 

 
เอกสารอ้างอิง
ทวิช จตุวรพฤกษ์. เสียงจากคนชายขอบ : ศักดิ์ศรีความเป็นคนของชาวลีซู. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2541.
ประเสริฐ ชัยพิกุสิต. ข้อห้ามข้อนิยมของชาวเขาเผ่าลีซอ.ศูนย์วิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์   กระทรวงมหาดไทย, 2520.

อ้างอิงภาพประกอบ

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/95/95/images/1_11_53TCDC_Halloween/DSC00704.JPG
 



ผู้เขียน : รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์-เรียบเรียง
คำสำคัญ : ผี, ความเชื่อเรื่องผี, ลีซู,

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง