สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Blog

รู้จักไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว อ. แม่สาย จ. เชียงราย
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 03 ต.ค. 2556 11:09 น.
 



รู้จักไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 

ชาวไตหย่า คือ กลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองหย่า หรือซินผิงมณฑลยูนนาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่า ฮวาเย่าไต แปลว่า ไทเอวลาย ชาวไตหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทย มีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไต ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได


ไตหย่าในเชียงราย
จากวิทยานิพนธ์ของกริช สอิ้งทอง(2545)เสนอว่ามีข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ระบุว่า ปี พ.ศ.2470 ศาสตราจารย์แบคเทล ผู้ปกครองแก้ว ใจมา และคณะ ได้เดินทางจากจังหวัดเชียงรายไปเมืองหย่า สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเผยแพร่คริสตศาสนา ทำให้มีชาวไตหย่าบางส่วนเปลี่ยนจากการนับถือผีมานับถือศาสนาคริสต์ และด้วยสภาพความเป็นอยู่ของชาวไตหย่าในขณะนั้นที่มีความเป็นอยู่ที่ลำบากจากอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ศาสตราจารย์แบคเทลจึงชักชวนให้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยครั้งแรกมาพำนักที่บ้านหนองกลม ปัจจุบันคือ บ้านสันธาตุในอำเภอแม่สาย จากนั้นอพยพมาที่สันป่าสักซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านสันป่าสักขวาง หลังจากตั้งหมู่บ้านได้ไม่นาน ก็มีชาวไตหย่าอพยพมาอยู่เพิ่ม จึงมีบางส่วนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย



      



ภาษาไตหย่าคล้ายกับภาษาไทยถิ่นเหนือ
ชาวไตหย่ามีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลจีน-ธิเบตในปัจจุบัน  งานวิจัยของรุจพร ประชาเดชสุวัฒน์และคณะเรื่องวิถีชีวิตชาวไตหย่า : ศึกษากรณีซินผิง และหยวนเจียง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน(2541) เสนอว่า ภาษาไตหย่ากับภาษาไทยถิ่นเหนือมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างอยู่บ้าง เช่น หน่วยเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน เช่น เสียง ต ในภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือจะเป็นเสียง ล ในภาษาไตหย่า เช่น ดอกไม้ เป็น ลอกไม้ สีดำ เป็น สีลำ เป็นต้น  ภาษาไตหย่าไม่มีระบบเสียงควบกล้ำ เช่น ปลา เป็น ปา เป็นต้น ในด้านสำเนียงการพูด พบว่า สำเนียงไตหย่าต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือ เนื่องจากภาษาไตหย่ามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 18เสียง เสียงสระ 18เสียงวรรณยุกต์ 5ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นมีเสียงพยัญชนะ 19เสียง สระ 18และเสียงวรรณยุกต์ 6


ชาวไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว
สภาพสังคมของชาวไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว มีลักษณะการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีความเคารพผู้อาวุโส และมีความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชุมชนดำเนินวิถีชีวิตตามหลักของศาสนาคริสต์ และมีคริสตจักรนทีธรรมเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนในการนัดพบและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันแต่เดิมชาวไตหย่านับถือผีบรรพบุรุษจนกระทั่งมีคณะเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแผ่ในเมืองหย่า ชาวไตหย่าบางส่วนจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อชาวไตหย่าอพยพเข้ามาในประเทศไทยก็ยังคงมีความศรัทธาในคริสตศาสนาด้วยและมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาให้ชาวไตหย่าหนีจากความยากจน การถูกกดขี่ข่มเหง การถูกเอารัดเอาเปรียบให้อพยพมาอยู่ในประเทศที่อุดมสมบูรณ์และมีอิสระในการดำเนินชีวิต  ปัจจุบันชาวไตหย่าในหมู่บ้านน้ำบ่อขาวยังคงยึดหลักข้อปฏิบัติของศาสนาคริสต์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ฟังคำเทศนาที่คริสตจักรนทีธรรมทุกวันอาทิตย์ เป็นต้น


ชาวไตหย่าในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว แต่เดิมประกอบอาชีพการทำเกษตรเพื่อการยังชีพ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ชาวไตหย่าส่วนใหญ่เดินทางเข้าไปทำงานในจังหวัดอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพฯ มีเพียงบางส่วนที่ประกอบอาชีพเกษตร ทำนาข้าว ทำนากก เนื่องจากกกเป็นพันธุ์พืชที่ชาวไตหย่านำมาด้วยในคราวที่อพยพจากแคว้นยูนนาน การทำนากกในประเทศไทยจึงเริ่มต้นจากหมู่บ้านของชาวไตหย่าและต่อมาแพร่กระจายไปสู่หมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อกกโตเต็มที่จะตัดเพื่อไปเป็นวัตถุดิบในการทอเสื่อกก


วัฒนธรรมการบริโภคของชาวไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว มีวัฒนธรรมการดองอาหาร 2แบบ คือ การดองเนื้อสัตว์ และการดองผัก การดองสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และปลาโดยใช้เครื่องเทศ เช่น ลูกจันป่น พริกไทยป่น ข้าวคั่ว กระเทียม เม็ดซิ่วซาง และเหล้าขาว คลุกเคล้าและดองประมาณ 1เดือน การดองผัก ชาวไตหย่าจะนิยมดองผักกาดเขียวด้วยข้าวสุกและเกลือ ใช้เวลาดองประมาณ 7วันก็สามารถรับประทานได้

              
ในด้านการแต่งกาย ปัจจุบันชาวไตหย่าจะแต่งกายตามสมัยนิยม และจะแต่งกายในชุดประจำกลุ่มชนในงานประเพณี เช่น งานชุมนุมประจำปี  เครื่องแต่งกายของสตรีชาวไตหย่าจะประกอบด้วยผ้าซิ่น 2ผืนซ้อนกัน ผืนแรกเรียกว่า ผ้าไต่เซิน เป็นผ้าพื้นสีดำ ประดับด้วยริ้วผ้าสีต่างๆเย็บเป็นแถบชายซิ่น ส่วนผ้าผืนที่2เรียกว่า ผ้าเซิน เป็นผ้าพื้นสีดำประดับชายผ้าด้วยริ้วผ้าสีแต่ไม่เย็บด้านข้างให้ติดกัน ใช้สวมทับผืนแรกโดยพันรอบตัวให้ชายผ้าขนานผืนแล้วคาดเข็มขัดทับ ส่วนช่วงเอวขึ้นไปมีผ้า 3ชิ้น คือ ผ้าไว้ใช้คาดเอวจะประดับด้วยริ้วผ้าสีต่างๆทั้งผืน จากนั้นสวมทับด้วยเสื้อตัวที่สอง เรียกว่า ซื่อแย่ง ซึ่งเป็นเสื้อไม่มีแขน คอปิด ไม่มีปกผ่าหน้าเฉียงมาทางซ้าย ส่วนเสื้อตัวที่สาม เรียกว่า ซื่อหลุง มีลักษณะเป็นเสื้อสวมทับแขนยาว ไม่มีปก ผ่าหน้าตรง ความยาวของเสื้อจะยาวประมาณ 2ใน 3ของความยาวช่วงบนของผู้สวมใส่

              
นอกจากนี้สตรีไตหย่ามักนิยมไว้ผมยาว เกล้าเป็นมวยสูงกลางศีรษะ และจะพันศีรษะด้วยผ้าสีดำ 2 ผืน คือ ผ้าแหแย่ง และผ้าหว่างโห ส่วนเครื่องประดับ หญิงไตหย่าทุกคนจะเจาะหูและสวมตุ้มหูซึ่งมีลักษณะเป็นวงขนาดใหญ่ สวมกำไลข้อมือและแหวน ที่เป็นเงินซึ่งสามารถบ่งบอกให้ผู้อื่นทราบถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่ เด็กหญิงชาวไตหย่าจะเริ่มสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำกลุ่มเมื่ออายุครบ 12ปี และผู้หญิงไตหย่าที่มีอายุ 40ปีจะไม่สวมใส่เครื่องประดับอะไรอีก
  
            
การแต่งกายของผู้ชายไตหย่า ประกอบด้วยกางเกงขาตรงสีดำหรือสีคราม เสื้อคอจีนแขนยาวสีดำ ไม่ประดับลวดลายใดๆ ทรงผมตัดสั้นตามสมัยนิยม และผู้ชายสามารถใช้ชุดประจำกลุ่มไตหย่าได้เมื่ออายุครบ 18ปี

              
ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของชาวไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการทำเสื่อกกมีไม่มากนักเพราะเยาวชนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาจึงทำงานตามที่ตนเรียนมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

 

อ้างอิงข้อมูล
กริช สอิ้งทอง. 2545. ศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาชุมชนไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และจินตนา มัธยมบุรุษ.2541. วิถีชีวิตชาวไตหย่า ศึกษากรณีซินผิง และหยวนเจียง มณฑลยูนนาน  ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน. เชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

เลหล้า ตรีเอกานุกูลและจุไรรัตน์ วรรณศิริ. การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไตหย่าในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการเนรศวรวิจัยครั้งที่ 6. 29-31 กรกฎาคม 2553. หน้า 710 – 716.


อ้างอิงภาพถ่าย
http://www.dailynews.co.th/article/725/206985

 



ผู้เขียน : รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์-เรียบเรียง
คำสำคัญ : ไตหย่า, บ้านน้ำบ่อขาว, เชียงราย,

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง