สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Blog

ลาวครั่งสัมพันธ์ ชาติพันธุ์รำลึก
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 11 มิ.ย 2556 14:40 น.
 



โครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามวัฒนธรรมลาวครั่ง ในงาน“ลาวครั่งสัมพันธ์ ชาติพันธุ์รำลึก” ณ วัดศรีสโมสร บ้านกุดจอก ต. หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ. ชัยนาท วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556 ค่ะโดยมีโจทย์ในการลงพื้นที่คือ การสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวครั่ง ลาวโซ่ง ที่มาร่วมงาน สรุปการลงภาคสนามดังต่อไปนี้ค่ะ
 
 
1. ว่าด้วยชื่อ ลาวครั่ง /ลาวคั่ง
การสันนิษฐานเรื่องประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาตพันธุ์ลาวครั่งจากเอกสารของนักวิจัยที่ทำการค้นคว้าและศึกษาอาจจะสรุปความหมายของลาวครั่ง ได้ 2 ประเด็น คือ 

 
1. มาจากชื่อของภูเขาภูคั่ง ในอาณาเขตของอาณาจักรหลวงพระบาง  จนเรียกกันจนเพี้ยนกลายเป็นลาวครั่ง อีกแนวทางหนึ่งว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นจึงเรียกลาวกลุ่มนี้ว่า “ลาวครั่ง “ หรือ คั่ง ตามการออกเสียงของชาวลาวที่ไม่มี เสียง “ ร”  และชื่อคั่งอาจเกี่ยวข้องกับชื่อเมืองภูคัง 


 
2. สันนิษฐานว่าสาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า  ลาวครั่งเป็นการเรียกตามชื่อของครั่งที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม


 
2.ประวัติชุมชน
ชาวบ้านกุดจอกเล่าสืบต่อกันมาว่าบรรพบุรุษตนเป็นลาวครั่งซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่หลวงพระบาง ประเทศลาว  และได้อพยพมาอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ วิถีชีวิตหลายอย่างของชาวบ้านกุดจอกสะท้อนถึงวัฒนธรรมประเพณี สำเนียงพูดคล้ายคลึงกับภาษาพูดของชาวลาวในหลวงพระบาง มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา(จากแผ่นไวนิลในพิพิธภัณฑ์)


 
3.ประวัติชื่อหมู่บ้าน
เรื่องอัตลักษณ์และวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านกุดจอก จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม สัมภาษณ์คุณบุญรอด ไลไธสง ชาวบ้านกุดจอกเล่าว่า ปู่ย่าตายายเล่าต่อกันมาว่า เดิมเป็นป่า จึงตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมบึงที่มีดอกจอกขึ้นอยู่เต็มบึง “กุด” แปลว่า บึง จอก หมายถึง ดอกจอก จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกุดจอก”โดยมีวัด“วัดศรีสโมสร”  เป็นศูนย์กลางของชาวบ้าน 
 

 
4.สภาพทั่วไป
หมู่บ้านกุดจอกแห่งนี้ ปัจจุบันมีชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งอาศัยอยู่ประมาณ 200 หลังคาเรือน อาชีพหลักคือเกษตรกรรม ทำนา  บ้านเรือนในหมู่บ้านกุดจอกจะปลูกบ้านกระจายตัว กลุ่มญาติจะอยู่กระจายตัวในละแวกเดียวกัน บ้านมีลักษณะเป็นเรือน 2 ชั้น ชั้นบนสำหรับนอน ชั้นล่างเป็นใต้ถุนเป็นพื้นที่สำหรับทอผ้า จักสาน เรื่องการใช้ผ้าทอพบว่ายังมีการสืบสานการทอผ้าอยู่ ชาวลาวครั่งกุดจอกจะแต่งกายด้วยชุดประจำกลุ่มลาวครั่งในงานพิธีสำคัญๆ แต่ในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุจะยังใส่ผ้านุ่งอยู่ แต่คนวัย 30 ปีลงมาจะสวมเสื้อผ้าตามสมัยนิยม  

 
 
5.เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านกุดจอก มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง  เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง แสดงออกถึงภูมิปัญญา ปัจจุบันยังมีกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านกุดจอก และมีครูภูมิปัญญาคุณยายซ้อง จบศรี วัยกว่า 80 ปี

 
 
6.สังเกตการณ์ กิจกรรมสัมพันธ์ รำแคน รำวงชาวบ้าน งาน “ลาวครั่งสัมพันธ์ ชาติพันธุ์รำลึก”
งาน “ลาวครั่งสัมพันธ์ ชาติพันธุ์รำลึก” มีลักษณะเป็นการชุมนุมของกลุ่มชาติพันธุ์ คือ ลาวครั่ง  จ. กำแพงเพชร  จ. สุพรรณบุรี จ. นครปฐม จ. ชัยนาท จ. อุทัยธานี  ลาวเวียง อ. เนินขาม จ. ชัยนาท อ. บ้านไร่ จ. อุทัยธานี และลาวโซ่ง จ. นครสรวรรค์ จ. เพชรบุรี ประมาณ 300 คน

งานเริ่มต้นด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง3 กลุ่มทยอยมาร่วมงานที่วัดศรีสโมสร ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน จากนั้นมีการแห่ผ้าป่าสามัคคีไปรอบหมู่บ้านแล้วแห่กลับมาโบสถ์ 3 รอบ ชาวลาวครั่งบ้านกุดจอกแต่งกายด้วยชุดประจำกลุ่มชน ในขบวนส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 40-70 ปี  โดยมีวงแคนและแตรวงเป่าสร้างความบันเทิง เพลงที่นำมาใช้บรรเลง มีทั้งที่ร่วมสมัยและเพลงรำวง 


 
ในช่วงค่ำจะมีงานสานสัมพันธ์รำวงโดยมีชาวลาวโซ่งจาก จ. นครปฐม จ.เพชรบุรี ลาวครั่ง จ. กำแพงเพชร ลาวเวียงจ. สุพรรณบุรี  ลักษณะงานจะเป็นการมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกันที่ลาน จากนั้นก็เชิญตัวแทนแต่ละกลุ่มมากล่าวความรู้สึก ในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี จากนั้นก็ร่วมกันรำวงที่ลานสานสัมพันธ์ โดยวัตถุประสงค์ของงานก็คือ เปิดพื้นที่ให้กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวโซ่งในจังหวัดต่างๆได้มาพบปะ ทำบุญถวายผ้าป่า สังสรรค์รับประทานอาหารและรำวงร่วมกัน บรรยากาศในงานจึงมีครึกครื้นของการรำวง และภาพของงานมหรสพแบบงานวัดไปในตัว


 
7. สำรวจ และถ่ายภาพพิพิธภัณฑ์ลาวครั่งบ้านกุดจอก 
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลาวครั่ง มรดกผสมผสานอารยธรรมไทย-ลาว ตั้งอยู่บนหอสวดมนต์ของวัดศรีสโมสร ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นที่รวบรวมของของมีค่าต่าง ๆ จัดแสดงนิทรรศการถาวร พื้นที่จัดแสดงแบ่งเป็น 3 ส่วน 


 
ส่วนแรกเป็นการจัดแสดงเรื่องทางศาสนามีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ งาช้างคู่อายุกว่า 100 ปี ส่วนที่สอง จัดแสดงประวัติชุมชน เล่าเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่สามเป็นเรื่องของใช้ อาทิเช่น พระคัมภีร์ใบลาน ผ้าลายตีนจกโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ลาวครั่ง เครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป ภาชนะ ภาพโบราณ และสิ่งที่สำคัญต่าง ๆ ของชุมชนลาวครั่ง


 
 8.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์
จากการพูดคุยกับนายนิวัฒนากร ศรีพรมมา ประธานชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งกุดจอกถึงเรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อพบปะเยี่ยมเยียนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ลาวด้วยกัน สร้างความสามัคคีเป็นหมู่คณะของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งการจัดงานในลักษณะนี้จะเป็นเหมือนการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ  โดยเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการพบปะและแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองผ่านการแต่งกาย การร่ายรำ ซึ่งพบว่าในปีนี้เป็นปีแรกที่ชาวลาวครั่งกุดจอกเป็นเจ้าภาพ บรรยากาศในงานจึงเป็นบรรยากาศของงานรื่นเริง การรำแคน รำวงชาวบ้าน  มีร้านค้ามาขายภายในงาน



อย่างไรก็ดี จึงเห็นว่าการจัดงานนี้เป็นน่าจะการสร้างสานสัมพันธ์ของกลุ่มชนต่างๆ ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนที่พบในงานจึงมีลักษณะในทางบันเทิงมากกว่าการพูดคุยในทางวิชาการ กล่าวคือ มาร่วมกันทำบุญถวายผ้าป่า รับประทานอาหาร และสนุกสนานกับการรำวงร่วมกัน 


 
ด้านการดำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม จากการพูดคุยตัวแทนชาวลาวครั่งและลาวโซ่งพบว่า จะแต่งชุดประจำกลุ่มชาติพันธุ์ในงานประเพณีที่สำคัญเท่านั้น  ส่วนในชีวิตประจำวันจะใช้เสื้อผ้าตามสมัยนิยม ผู้คนที่มาร่วมงานสังเกตว่าเป็นกลุ่มอายุประมาณ 40-70 ปี วัยรุ่นจะไม่ค่อยมาร่วมงาน ในบริเวณงาน หากเป็นวัยรุ่นจะแต่งกายตามสมัยนิยม โดยมาสอยดาว จับฉลาก ซื้อข้าวของ หรือมาเล่นเกมปาลูกโป่ง แต่จะไม่เข้าไปรำวง

 
 
9.ความร่วมมือในการสืนสานวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านกุดจอก
สิ่งที่น่าสนใจในการร่วมมือสืบสานอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวลาวครั่ง บ้านกุดจอก คือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกับแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมลาวครั่ง ทำให้การสืบสานวัฒนธรรมลาวครั่งของชุมชนมีความเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม ซึ่งรูปแบบในการอนุรักษ์และสืบสานของชาวบ้านนี้เป็นไปในลักษณะของวิถีชีวิตมากกว่าที่จะจัดงานเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยว


พี่บุญรอดเล่าว่า หน่วยงานรัฐเคยแนะนำให้นำวัฒนธรรมมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ชาวบ้านเห็นว่า วัฒนธรรมลาวครั่งที่ตนปฏิบัติอยู่นี้ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว แต่เป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ลาวครั่งดำเนินชีวิตจริงๆในชีวิตประจำวัน เป็นวิถีชีวิต และประเพณีที่ปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้หวังผลเรื่องการท่องเที่ยวและไม่ได้หวังผลให้เป็นที่รู้จักโด่งดังในเชิงการท่องเที่ยว ชาวบ้านจึงไม่ทำตามที่ภาครัฐแนะนำ  


อย่างไรก็ดี พี่บุญรอดกล่าวว่า หากหมู่บ้านอื่นๆมาดูงานทัศนศึกษาในหมู่บ้านกุดจอกก็ยินดีต้อนรับ แต่ชาวบ้านจะไม่จัดแสดงเพื่อตอบสนองการท่องที่ยว สิ่งที่ผู้ทัศนศึกษาจะได้เห็นในหมู่บ้านกุดจอกจะเป็นวัฒนธรรมลาวครั่งที่เป็นวิถีชีวิตจริงๆ


 
10.การสนับสนุนจากภาครัฐ
อย่างไรก็ตามทั้งจากการสำรวจหมู่บ้าน และการสังเกตงานสานสัมพันธ์ พบว่า กลุ่มลาวครั่งบ้านกุดจอก เป็นหมู่บ้านที่มีการรักษาวัฒนธรรมลาวครั่งไว้อย่างชัดเจน และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาครัฐ ทั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล การศึกษานอกโรงเรียน สภาวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งสังเกตจากป้ายสถานที่ต่างๆในหมู่บ้านจะเขียนว่าได้รับการจัดสรรงบประมาณมาจากหน่วยงานไหนบ้าง 
 
   
 
สรุป
งาน "ลาวครั่งสานสัมพันธ์ ชาติพันธุ์รำลึก" เป็นงานที่มุ่งให้เกิดการพบปะสังสรรค์เยี่ยมเยียนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาร่วมงาน ปรากฏการณ์ในการรวมกลุ่มเพื่อสานสัมพันธ์นี้น่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ตระหนักถึงการมีอยู่ทางวัฒนธรรมของตนเอง และมีความภาคภูมิในการสืบสานอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตน การเลือกที่จะจัดงานสานสัมพันธ์ ใน 3 กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความคิดที่จะสืบสานพบปะสังสรรค์เหมือนกัน 

 
ในการด้านอายุของผู้เข้าร่วมงาน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัย 40-70 ปี ส่วนวัยรุ่นนั้นพบเห็นไม่มาก แต่ด้วยเวลาในการลวงภาคสนามมีจำกัดจึงไม่ได้สำรวจเพิ่มว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมีกลุ่มเยาวชน หรือวัยรุ่นร่วมงานมากนัก ทำให้ภาพที่เห็นจากการมาร่วมงานสานสัมพันธ์ในครั้งนี้เป็นภาพของผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ 
 
 
หากจะเปรียบเทียบกับชาวกะเหรี่ยงและชาวเล(กลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่คณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 มีมติให้ฟื้นฟูวิถีชีวิต) เห็นว่า ความเป็นอยู่ของชาวลาวครั่งบ้านกุดจอกมีสถานะทางสังคมที่มั่นคงกว่าชาวกะเหรี่ยงและชาวเลเพราะลาวครั่งได้รับสัญชาติไทย มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีพื้นที่ในการทำงาน ประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษา มีความมั่นคงในอาชีพ แม้จะประกอบอาชีพทำนาก็มีที่ดินเป็นของตนเอง ประกอบอาชีพที่มั่นคง เช่น รับราชการ และเมื่อปัจจัยพื้นฐานของลาวครั่งค่อนข้างมีสถานะทางสังคมที่มั่นคงกว่าจึงน่าจะเป็นเหตุสนับสนุนให้การดำรงชีพและการสืบสานอัตลักษณ์ของตนนั้นกระทำได้ดีกว่ากะเหรี่ยงและชาวเลที่ยังประสบปัญหาความมั่นคงเรื่องสัญชาติ ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน  

อย่างไรก็ตาม พบว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความทันสมัยก็ส่วนในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอยู่บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะของพลวัต





 


ผู้เขียน : รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์
คำสำคัญ : ลาวครั่ง, บ้านกุดจอก, ชัยนาท,

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง