สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Blog

“เมื่อมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเป็นเพียงคำสั่งในกระดาษ..เวทีสะท้อนคิด
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 11 มิ.ย 2556 14:14 น.
 



 
“ถ้าไม่มีความเชื่อความศรัทธา ก็ไม่มีวัฒนธรรม
และถ้าไม่มีวัฒนธรรม ชีวิตมนุษย์จะยึดโยงกับอะไร”
 

 
คำพูดเฉียบคมในน้ำเสียงราบเรียบของลุงไกว งามยิ่ง ชาวโพล่ง ณ บ้านห้วยหินดำ จ. สุพรรณบุรี นั่นสิ...หากมนุษย์ไม่เคยตั้งคำถามถึงความหมายของการดำรงอยู่  ไม่เห็นความหมายและคุณค่าในการธำรงวัฒนธรรมของตนเอง มนุษย์จะยึดโยงตนเองกับอะไร เราจะดำรงชีวิตไปเพื่ออะไร



เมื่อวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) จัดสัมมนาผู้นำเครือข่ายกะเหรี่ยงภาคตะวันตก 3 จังหวัด (อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี) กับนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติ ครม.3 สิงหาคม 2553 ณ วัดถ้ำองจุ ต.นาสวน อ. ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยเชิญตัวแทนชาวโพล่งซึ่งถือเป็นกลุ่มหนึ่งของกะเหรี่ยง “กะเหรี่ยง” ในที่นี้หมายถึงปกาเกอญอ/จกอร์  โพล่งหรือโผล่ว กะยาห์ กะยัน และปะโอ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย) แต่ใน 3 จังหวัด กว่า 50 ท่าน มาร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับการทำงานตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง
 
 
 
บรรยากาศเริ่มด้วยการพูดคุยจากนักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรโดยคุณสรินยา คำเมืองที่นำวิดีทัศน์เกี่ยวกับแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 พร้อมทั้งเล่าถึงการทำงานของคณะอำนวยกรรมการฯที่ทำงานผลักดันตลอด 3 ปี ในฐานะของสถาบันวิชาการที่ทำงานด้านชาติพันธุ์จึงได้จัดสัมมนาดังกล่าวขึ้นเพื่อระดมความคิด ขบคิดปัญหา เพื่อพัฒนากิจกรรมให้ตอบสนองนโยบายและให้กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวโพล่งอย่างแท้จริง
 
 
 
ขอ 3 คำ ในนามของความเป็นโพล่ง “ความเชื่อ ป่า และภูมิปัญญา”
ก่อนเข้าสู่การระดมความคิด ลุงไกว งามยิ่ง ชาวโพล่งแห่งบ้านห้วยหินดำ อ. ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี หรือพี่ไกวของพี่น้องชาวโพล่งเครือข่ายกะเหรี่ยงภาคตะวันตกเล่าให้ฟังว่า วิถีชีวิตของคนโพล่ง สรุปง่ายเพียง 3 คำ คือ ความเชื่อ ป่า และภูมิปัญญา ดังนั้น หากจะฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 แล้ว การฟื้นฟูเร่งด่วนก็ควรเป็นเรื่องการฟื้นฟูใน 3 เรื่องใหญ่นี้

 
ลุงไกวเล่าว่าบ้านห้วยหินดำ จ.สุพรรณบุรี กำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องการสืบทอดวัฒนธรรม เพราะเยาวชนไม่ค่อยให้ความสนใจประเพณีวัฒนธรรมของคนโพล่งมากนัก โดยลุงเห็นว่า หากไม่เร่งฟื้นฟู ก็กลัวว่าต่อไปคนโพล่งจะละทิ้งประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง “เดี๋ยวนี้เด็กไม่ค่อยสนใจเข้าร่วมประเพณีวัฒนธรรมของโพล่งมากนัก  บ้างก็ติดดูทีวี ติดโทรศัพท์ การเรียนรู้ภาษาไทย พูดภาษาไทยได้ พูดภาษาอังกฤษได้ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น ก็เป็นสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้และทำให้เป็น เพื่อจะได้ติดตามโลกได้ทัน แต่ขณะเดียวกัน เราก็ไม่ควรจะหลงอยู่ในความเจริญหรือหลงในวัตถุจนละเลย ละทิ้งวัฒนธรรมที่เป็นรากแก้วของตนเอง”
 
 
ข้อกังวลของลุงไกวเป็นประเด็นสำคัญที่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในหลายๆจังหวัดกำลังประสบอยู่ และในแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 ประเด็นในการฟื้นฟูอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมก็เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตาม ในเชิงรูปธรรมก็ดูเหมือนว่าการปฏิบัติการยังไม่เห็นผลมากนัก

 
 
ทบทวนปัญหา แสวงหาทางออก  
 
ในเวทีจึงมีการระดมความคิดรายจังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัดร่วมกันระดมความคิด เขียนฟลิปชาร์ตและนำเสนอปมปัญหาและแนวทางแก้ไข  ตัวแทนโพล่งจาก จ. อุทัยธานี เห็นว่า การแสดงออกทางวัฒนธรรมผ่านการแต่งกาย การพูดภาษากะเหรี่ยงกำลังลดน้อยลง แต่งชุดประจำเผ่าน้อยลง ขาดกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมในระดับครอบครัว/ชุมชน เหล้า เบียร์ แพร่เข้ามาในชุมชนมากขึ้น ขาดโอกาสในการดูแล/จัดการทรัพยากรธรรมชาติ

 
 
แนวทางในการฟื้นฟูวัฒนธรรม เห็นว่า พ่อแม่ควรเป็นต้นแบบในการพูดภาษากะเหรี่ยง โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนการเรียนการสอนภาษากะเหรี่ยงในโรงเรียนและควรมีการรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนมีสำนึกทางวัฒนธรรม มีการกำหนดให้แต่งชุดประจำเผ่าในวันสำคัญของชุมชน เป็นต้น

 
 
ในขณะที่ตัวแทนคนโพล่ง จ. กาญจนบุรี สะท้อนปัญหาในฟริปชาร์ทว่า พื้นที่ทำไร่หมุนเวียนมีจำกัด จากเดิมเคย หมุนได้รอบละ5-7 ปี แต่ในปัจจุบัน ประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่ทำกินเท่าเดิม ทำให้รอบในการหมุนไร่หมุนเวียนได้เพียง 2-3 ปี มีผลให้การฟื้นฟูสภาพดินในไร่ไม่สมบูรณ์ พืชที่ปลูกก็ได้ผลิตผลน้อยลง ในด้านวัฒนธรรมก็พบว่ามีการสืบทอดวัฒนธรรมภาษาและการแต่งกายชุดกะเหรี่ยงน้อยลง ข้อเสนอแนะ กำหนดวันแต่งกายประจำเผ่ากะเหรี่ยง ทุก 15 ค่ำของเดือน สร้างองค์ความรู้ให้กับเด็กเยาวชนในพื้นที่ สร้างจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามจารีตประเพณีท้องถิ่น
 
 
ส่วนคนโพล่ง จ. สุพรรณบุรี เห็นว่าควรมุ่งฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาโดยเริ่มจากการสอนภาษากะเหรี่ยง สนับสนุนให้ พ่อ-แม่ของแต่ละครอบครัวสอนภาษาและวัฒนธรรมกะเหรี่ยง ดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตกะเหรี่ยง เป็นต้น
 
 

จากการระดมความคิดเห็นของคนโพล่งทั้ง 3 จังหวัด จะเห็นว่ามีจุดร่วมกันทั้งในเชิงปัญหาใกล้เคียงกันคือ เรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม 2. เรื่องพื้นที่ทำกิน และแนวทางแก้ไขล้วนเห็นพ้องกันว่าควรเร่งฟื้นฟูอัตลักษณ์สำคัญของโพล่งคือภาษาและความเชื่อและภูมิปัญญา หากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับการฟื้นฟู และส่งทอดสู่รุ่นเยาวชน การสืบทอดวัฒนธรรมโพล่งคงจะยิ่งลดน้อยลงไปและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกลืนกลายทางวัฒนธรรม

 
 
อย่างไรก็ดี การจัดเวทีระดมความคิดปัญหาและการแสวงหาแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม ยังเป็นเรื่องราวที่ต้องผ่านการขบคิดและปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งในฝ่ายของคนโพล่งภาคตะวันตก และภาครัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งดูเหมือนว่าการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 เป็นหนังเรื่องยาวที่ไม่อาจสำเร็จได้ด้วยเพียงการมี “คำสั่ง” มติคณะรัฐมนตรี แต่ต้องมีการทำงานจริงจังและต่อเนื่องจากหลายภาคส่วน ซึ่งในวันนี้ดูเหมือนว่ามติคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นเพียงคำสั่งที่ขาดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง

 
 
ในวันที่โลกหมุนไวตามปัจจัยความเจริญของเทคโนโลยี คำพูดของลุงไกวที่ว่า “ถ้าไม่มีความเชื่อความศรัทธา ก็ไม่มีวัฒนธรรม และถ้าไม่มีวัฒนธรรม ชีวิตมนุษย์จะยึดโยงกับอะไร”กระทบใจคนเมืองอย่างเราๆ บ้างหรือไม่


เรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง แม้จะเป็นเรื่องที่ดูจะเฉพาะกลุ่มกะเหรี่ยง แต่อีกนัยหนึ่ง “การฟื้นฟู”  บ่งบอกอะไรกับสังคมบ้าง แล้วกับคนเมืองล่ะ ยังมีตั้งคำถามเชิงวัฒนธรรมของตนเองบ้างหรือเปล่า หรือว่าเรามิได้สนใจเรื่องราวทางวัฒนธรรมแบบนั้นอีกแล้ว เพราะเรามีเรื่องปากท้อง ฐานะและภาวะมั่งคงในการดำรงตนเป็นคนเมือง คำถามที่น่าสนใจคือ ในขณะที่วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่หลากหลายกำลังตั้งคำถามถึงการมีอยู่ ความพยายามในการสืบทอดวัฒนธรรมของตนเองอย่างยิ่งยวด แล้วคนเมืองอย่างเราล่ะ ตั้งคำถามถึงวัฒนธรรมของตนเองบ้างหรือไม่ 



 


ผู้เขียน : รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์
คำสำคัญ : แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง, มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553, กะเหรี่ยง, โพล่ง, ห้วยหินดำ, สุพรรณบุรี,

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง