สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  บทความชาติพันธุ์

ข้อสังเกตจากงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
โพสเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2557 09:12 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

ประวัติศาสตร์สังคมของการเดินทางของพระมหาเขื่อน การเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนในเขตตอนบนลุ่มน้้ำโขง
โพสเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2557 08:55 น.
 

เรื่องราวการอพยพเคลื่อนย้ายของลื้อสามารถสืบย้อนกลับไปได้ในต้นศตวรรษที่ 12 ดังปรากฏในตำนานการตั้งถิ่นฐานของคนไท เรื่อง พญาอาลาโว ซึ่งเล่ากันว่า พญาอาลาโวได้พาข้าราชบริพารมาตามล่ากวางทอง จนกระทั่งมาถึงบริเวณเชียงรุ่ง (ในปัจจุบัน คือ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจิ่งหง) กวางทองก็หายตัวไป กลายเป็นเพียงแค่กวางธรรมดา และถูกล่าได้ในที่สุด เจ้าชายจึงตัดสินใจที่จะอพยพนาไพร่พลมาสร้างเมืองลื้อขึ้นในบริเวณนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า เชียงรุ่ง และกลายเป็นศูนย์กลางของสิบสองปันนา

อ่านรายละเอียด >>

รองเง็งชาวอูรักลาโว้ย เกาะหลีเป๊ะ (ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล)
โพสเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2557 10:34 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

จากละครสู่รำตงและรำทอเสื่อ (รำถักเชือก): พลวัตการแสดงและวิถีชีวิต
โพสเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2557 16:51 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

การใช้เครื่องมือทางวัฒนธรรมในการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน
โพสเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2557 16:45 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

"บีซู คือ เรา ---ไม่ใช่ ลัวะ”
โพสเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2557 13:49 น.
 

“หาง-จาย-ยา” หรือแปลเปนภาษาไทยวา “กินขาวหรือยัง” เปนบทสนทนาแรกที่คนบีซูทักทายผูมาเยือน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 โครงการพัฒนาฐานขอมูลงานวิจัยทางชาติพันธุในประเทศไทย ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร (องคการมหาชน) ไดลงพื้นที่เก็บขอมูลภาคสนามกลุมชาติพันธุบีซู ณ บานดอยชมภู หมู 7 ต.โปงแพร อ.แมลาว จ.เชียงราย และบานปุยคํา ต.ปาออดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อทําความรูจักกลุมชาติพันธุบีซ

อ่านรายละเอียด >>

อิ้นก๋อนฟ้อนแก๊น : ความเปลี่ยนแปลงและความสืบเนื่องในการละเล่นของไทยทรงดำ
โพสเมื่อวันที่ 06 มิ.ย 2557 13:32 น.
 

คำว่า “อิ๊นก๊อนฟ้อนแก๊น” เขียนตามรูปแบบการเขียนที่ปรากฏในการจัดงานที่ผู้เขียนสำรวจภาคสนาม ผู้เขียนพบรูปแบบการเขียนที่ต่างไป “อิ่นก๊อน” ตามคำอธิบายของ พรพิมล ขันแสง (๒๕๔๑) กล่าวถึงการละเล่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันในช่วงเดือน ๕ และ ๖ ตามปฏิทินจันทรคติ โดยคำว่า “ก๋อน” หรือ “คอน” หมายถึง ลูกคอนหรือลูกช่วง คำว่า “อิ่นก๋อน” เป็นการโยนลูกช่วง และเป็นโอกาสให้กับหนุ่มสาวมีโอกาสพูดคุยกัน ทำความรู้จักสนิทสนม และเกิดความรักใคร่

อ่านรายละเอียด >>

“ประสบการณ์” กับ “การเข้าถึงความยุติธรรม” : การศึกษาวิจัยแบบอัตชีวประวัติของผู้หญิงชาติพันธุ์
โพสเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2557 17:11 น.
 

ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ พลเมืองทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพที่เท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ เสรีภาพอย่างที่ควรจะเป็น อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยเฉพาะผู้หญิงชาติพันธุ์ซึ่งไม่ได้รับสิทธิความเป็นพลเมืองไทย และอยู่ในสังคมที่มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความคิดแบบปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่

อ่านรายละเอียด >>

ทบทวนบทเรียนความขัดแย้งภายในประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โพสเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2556 17:25 น.
 

จากบทความ Culture, Identity and Conflict in Asia and Southeast Asia ที่เขียนโดย Aurel Croissant and Christoph Trinn ตีพิมพ์ใน ASIEN. 110. January 2009, pp. 13-43. ศึกษาเกี่ยวกับปัญหา สาเหตุ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้การวิเคราะห์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและนำมาสรุปผล พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วย คือ ภาษา ศาสนา และประวัติศาสตร์ของชาติที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหาทางวัฒนธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งภายในประเทศอินโดนีเซีย ไทย และพม่า ยังคงความรุนแรงต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์มีการออกมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จ

อ่านรายละเอียด >>

ปฏิบัติการสิทธิชุมชนในงานประเพณีกินข้าวห่อ “อั๊งมีทอง” ของชาวกะเหรี่ยงโพลว์ง บ้านห้วยแห้ง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
โพสเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2556 09:04 น.
 

“วิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ ดิ้นรนต่อสู้ ไม่มีจบสิ้น บนแผ่นดินนี้ที่ยังอุดมสมบูรณ์ จึงต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน วิถีชนเผ่า ชาวเขาชาวดอย ที่ยังเฝ้าคอยชาวเมืองเข้าใจ ทำไร่หมุนเวียน เขาเรียกว่า ไร่เลื่อนลอย กลายเป็นปมด้อยของเราเรื่อยมา คุณจะมาจากไหน คุณนั้นจะเป็นใคร อย่าได้คิดทำลาย วัฒนธรรมชนเผ่า คุณจะมาเป็นใคร คุณจะใหญ่แค่ไหน อย่าได้มาดูหมิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ของพวกเรา วิถีชีวิต ไม่ใช่ฟ้าลิขิต ไม่ใช่ความผิดของปู่ย่าตายาย วัฒนธรรม อย่าปล่อยให้มันสูญหาย ฟื้นฟูเอาไว้ เพื่อสืบสานเผ่าพันธุ์ของชนเผ่า” 17 สิงหาคม 2556 เนื้อหาถ้อยคำในเพลงวิถีชีวิตของวงกะเหรี่ยงโพลว์งบ้านห้วยแห้งที่งานพหุวัฒนธรรมกะเหรี่ยงฯ กระทบความรู้สึกของฉันอย่างแรง ภาพสุนีย์ที่ร้องเพลงไป กลั้นสะอื้นไม่ให้ตัวเองร้องไห้ออกมาสลับกันไปจากภาวะกดดันในใจจากการแสดงก่อนหน้าของน้องๆ กะเหรี่ยงบ้านคลิตี้ล่างที่ได้รับผลกระทบจากพิษสารตะกั่วที่สื่อถึงความเจ็บปวดของชาวคลิตี้ล่าง จนทุกคนในงานรับรู้ได้ ทำเอาหลายคนน้ำตาคลอ บางคนถึงกับร้องไห้กับความเป็นจริงที่ชาวคลิตี้ล่างได้รับ

อ่านรายละเอียด >>

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง